วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

จังหวัดนราธิวาส

Seal Narathiwat.png
ประวัติศาสตร์จังหวัดนราธิวาส
                  ประวัติเมืองนราธิวาส เดิมมีฐานะเป็นเพียงอำเภอหนึ่ง เรียกว่า อำเภอบางนรา ขึ้นอยู่กับเมืองสายบุรี ต่อมาได้โอนไปขึ้นกับเมืองระแงะ ดังนั้นการที่จะทราบถึงประวัติความเป็นมาของเมือง
นราธิวาส จะต้องกล่าวถึงเรื่องราวของเมืองปัตตานี เมืองสายบุรีและเมืองระแงะ ซึ่งเป็นบริเวณหัวเมือง เป็นลำดับติดต่อกันไป
                  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพหลวงลงมาปักษ์ใต้ เพื่อปราบปรามข้าศึกที่ยกเข้ามารุกรานพระราชอาณาเขตทางใต้ เมื่อข้าศึกแตกพ่ายหนีไปหมดแล้วจึงได้เสด็จไปประทับ ณ เมืองสงขลา แล้วได้มีรับสั่งออกไปถึงหัวเมืองมลายูทั้งหลาย ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นกับกรุงศรีอยุธยามาแต่ก่อนให้มาอ่อนน้อมเหมือนดังเดิม
                  พระยาไทรบุรี พระยาตรังกานู ยอมอ่อนน้อมโดยดี แต่พระยาปัตตานีตั้งแข็งเมืองไม่ยอมอ่อนน้อม จึงได้รับสั่งให้ยกกองทัพลงไปตีเมืองปัตตานี เมื่อ พ.. ๒๓๓๒
                  เมื่อได้เมืองปัตตานีแล้ว ก็โปรดเกล้าพระราชทานตราตั้งให้พระยาสงขลา (บุญฮุย) เป็นพระยาปัตตานี และให้อยู่ในความกำกับดูแลของเมืองสงขลาต่อไป และตั้งให้เป็นเมืองตรี ขึ้นอยู่กับกรุงรัตนโกสินทร์โดยตรง ในระหว่างที่พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ว่าราชการเมืองปัตตานีอยู่นั้น บ้านเมืองสงบเรียบร้อยเป็นปกติสุขตลอดมา
                  ครั้นต่อมาเมื่อพระยาปัตตานี  (ขวัญซ้าย) ถึงแก่กรรมลง โปรดเกล้าฯ ให้นายพ่าย    น้องชายของพระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ขึ้นว่าราชการเป็นพระยาปัตตานีและแต่งตั้งให้นายยิ้มซ้าย บุตร
พระยาปัตตานี (ขวัญซ้ายเป็นหลวงสวัสดิภักดี ผู้ช่วยราชการเมืองปัตตานี และได้ย้ายที่ว่าการเมืองปัตตานีจากบ้านมะนา (อ่าวนาเกลือ) ไปตั้งที่บ้านยามู
                  ในระหว่างนั้นพวกซาเห็ดรัตนาวงศ์ฯ และพวกโมเซฟได้เริ่มก่อกวนความสงบสุขของบ้านเมือง โดยคบคิดกันเข้าปล้นบ้านพระยาปัตตานี (พ่าย) และบ้านหลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ผู้ช่วยราชการเมืองปัตตานี แต่ก็ได้ถูกตีถอยหนีไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่ตำบลบ้านกะลาพอ เขตเมืองสายบุรี
                  นอกจากนั้นเมืองปัตตานีมีอาณาเขตกว้างขวาง      และมีโจรผู้ร้ายปล้นบ้านเรือนราษฎร
ชุกชุมยิ่งขึ้น จนเหลือกำลังที่พระยาปัตตานี (พ่าย) จะปราบให้สงบราบคาบลงได้ก็แจ้งข้อราชการไปยังเมืองสงขลา พระยาสงขลา (เถี้อนจ๋อง) ออกมาปราบปรามและจัดวางนโยบายแบ่งแยก เมืองปัตตานีออกเป็น ๗ หัวเมือง เมื่อ พ.. ๒๓๕๕ แล้วทูลเกล้าถวายรายชื่อเมืองที่แยกออกไปดังนี้ คือ เมืองปัตตานี เมืองหนองจิก และเมืองยะลา เมืองรามัน เมืองระแงะ เมืองสายบุรี และเมืองยะหริ่ง
                  ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยสงคราม กับพระยาสงขลา (เถี้อนจ๋อง) เป็นผู้เชิญตราตั้งออกไปพระราชทานแก่เจ้าเมืองทั้ง ๗ หัวเมือง ตามรายชื่อที่จัดไว้ ดังนี้
                  . ตั้งให้ตวนสุหลง        เป็น  พระยาปัตตานี
                 . ตั้งให้ตวนหนิ            เป็น  พระยาหนองจิก
                 . ตั้งให้ตวนยะลอ         เป็น  พระยายะลา
                 . ตั้งให้ตวนหม่าโล่        เป็น  พระยารามัน
                 . ตั้งให้หนิเดะ             เป็น   พระยาระแงะ
                 . ตั้งให้หนิดะ              เป็น   พระยาสายบุรี
                 . ตั้งให้นายพ่าย           เป็น  พระยายะหริ่ง
                 ระเบียบแบบแผนและวิธีปฏิบัติราชการในสมัยนั้น สำหนับเมืองยะหริ่ง เมืองยะลา และเมืองหนองจิก ให้ใช้ตามแบบเมืองสงขลาทั้งสิ้น ส่วนเมืองปัตตานี เมืองสายบุรี เมืองระแงะ และเมือง รามัน ให้พระยาสงขลา (เถี้ยนเส็ง) แต่งตั้งกรรมการออกไประวังตรวจตราและแนะนำข้อราชการอยู่เป็นประจำ บ้านเมืองจึงสงบเรียบร้อยตลอดมา
                  เมื่อแบ่งแยกหัวเมืองปัตตานีออกเป็น ๗ หัวเมือง ในครั้งนั้นพระยาระแงะ (หนิเดะ)    ตั้ง
บ้านเรือนว่าราชการอยู่ที่ตำบลบ้านระแงะ ริมพรมแดนติดต่อกับเขตเมืองกลันตัน ซึ่งเป็นต้นทางที่จะไปยังโต๊ะโมะ เหมืองทองคำ ส่วนพระยาสายบุรี (หนิดะ) ตั้งบ้านเรือนว่าราชการอยู่ที่ตำบลบ้านยี่งอ (อำเภอยี่งอปัจจุบันบ้านเมืองเป็นปกติสุขเรียบร้อยอยู่หลายปี
                  ต่อมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาปัตตานี (ตวนสุหลง
พระยาหนองจิก (ตวนกะจิ) พระยายะลา (ตวนบางกอก) พระยาระแงะ (หนิเดะ) เจ้าเมืองทั้ง ๔ ได้    สมคบร่วมคิดกันเป็นกบฏขึ้นในแผ่นดิน โดยรวบรวมกำลังพลออกตีบ้านพระยายะหริ่ง (พ่าย) แล้วเลยออกไปตีเมืองเทพฯ  และเมืองจะนะ พระยาสงขลา (เถื้ยนเส้ง) ทราบข่าว ก็มีใบบอกเข้าไปยังกรุงเทพฯ สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โปรดเกล้าให้พระยาเพชรบุรี เป็นแม่ทัพบก ออกมาสมทบช่วยกำลังเมืองสงขลาออกทำการปราบปรามตั้งแต่เมืองจะนะ เมืองเทพฯ ตลอดถึงเมืองระแงะ ตัวพระยาระแงะ (หนิเดะ) ซึ่งเป็นสมัครพรรคพวกร่วมคิดกันเป็นกบฏกับพระยาปัตตานีนั้นหนีรอดตามจับไม่ได้
                  พระยาเพชรบุรีและพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) พิจารณาเห็นว่าในระหว่างที่ทำการรบอยู่
นั้น หนิบอสู ชาวบ้านบางปูซึ่งพระยายะหริ่งแต่งตั้งให้เป็นกรมการเมืองยะหริ่ง ได้เป็นกำลังสำคัญ และได้ทำการสู้รบด้วยความกล้าหาญยิ่ง ด้วยคุณงามความดี อันนี้ จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้รักษาราชการเมืองระแงะสืบต่อจากพระยาระแงะ (หนิเดะ) ที่หนีไป และได้ย้ายที่ว่าราชการ เมืองระแงะจากบ้านระแงะริมพรมแดนติดต่อกับเขตเมืองกลันตันมาตั้งที่ว่าราชการเสียใหม่ ณ ตำบลตันหยงมัส (อำเภอระแงะปัจจุบัน
                  ต่อมาเมื่อพระยาระแงะ (หนิบอสู) ถึงแก่กรรมลง โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ตวนโหนะ บุตรพระยาระแงะ (หนิบอสู) ว่าราชการเมืองระแงะแทน มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาคีรีรัตนพิศาล ตั้งบ้านเรือนว่าราชการเมืองอยู่ที่บ้านพระยาระแงะ (หนิบอสู) บิดา
                 เมื่อ พ.. ๒๔๓๔ ถึงกำหนดเวลาที่บริเวณ ๗ หัวเมืองจะต้องนำต้นไม้เงินต้นไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวายพระเจ้าแผ่นดิน ณ กรุงรัตนโกสินทร์ แล้วเจ้าเมืองทั้ง ๗ ได้เข้าเฝ้าถวายความจงรักภักดีด้วยความพร้อมเพรียงกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรปูนบำเหน็จความดีความชอบให้ และได้ใช้สืบต่อกันมาจนกระทั่งยุบเลือกการปกครองบริเวณ ๗ หัวเมือง ดังนี้



                 . เจ้าเมืองปัตตานีพระยาวิชิตภักดี ศรีสุรวังษา  รัตนาเขตประเทศราช
                 . เจ้าเมืองหนองจิก พระยาเพชรภิบาลนฤเบศร์วาปีเขตร์มุจลินทร์นฤบดินทร์สวา-    มิภักดิ์                                           
                 . เจ้าเมืองยะลา พระยาณรงค์ฤทธิ์ ศรีประเทศวิเศษวังษา
                 . เจ้าเมืองสายบุรี พระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหารายามัตตาอับดุล วิบูลย์ขอบเขตร์ ประเทศมลายู
                 . เจ้าเมืองรามัน พระยารัตนภักดี ศรีราชบดินทร์ สุรินทรวิวังษา
                 . เจ้าเมืองยะหริ่ง พระยาพิพิธเสนามาตรดาธิบดี ศรีสุรสงคราม
                 . เจ้าเมืองระแงะ พระยาภูผาภักดี ศรีสุวรรณประเทศ วิเศษวังษา
                 ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศกฎข้อบังคับสำหรับปกครองบริเวณ ๗ หัวเมือง เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.. ๒๔๔๔ ทรงให้ยกเลิกการปกครองแบบเก่าเสียเพราะการแบ่งเขตแขวงการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการในหัวเมืองทั้ง ๗ ยังก้าวก่ายกันอยู่หลายอย่าง หลายประการ จึงได้วางระเบียบแบบแผนการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการให้เป็นระเบียบตามสมควรแก่การสมัย โดยให้หัวเมืองทั้ง ๗ คงเป็นเมืองอยู่ตามเดิม และให้พระยาเมืองเป็นผู้รักษาราชการต่างพระเนตรพระกรรณ มีกองบัญชาการเมืองให้พระยาเมืองเป็นหัวหน้าปลัดเมือง ยกกระบัดเมือง และผู้ช่วยราชการเมือง รวม ๔ ตำแหน่ง รองตามลำดับ นอกนั้นให้มีกรมการชั้นรองเสมียนพนักงานตามสมควร เพื่อให้ราชการบ้านเมืองเป็นไปโดยสะดวกดีและอาณาประชาราษฎร์มีความอยู่เย็นเป็นสุข โดยมิให้กระทบกระเทือนต่อขนบธรรมเนียมประเพณี และสิ่งที่งามทั้งหลายในหัวเมืองเหล่านั้นแต่ประการใด
                 สำหรับการตรวจตราแนะนำข้อราชการเมืองทั้งปวง ให้เป็นหน้าที่ของข้าหลวงใหญ่ ประจำบริเวณ ๗ หัวเมือง คนหนึ่งมีหน้าที่ออกแนะนำข้อราชการเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับของท้องตรากรุงเทพฯ และสอดคล้องกับคำสั่งของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชอีกด้วย
                 พระยาเมืองที่รับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยดี ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระ-
ราชทานผลประโยชน์ให้พอเลี้ยงชีพและรักษาบรรดาศักดิ์ตามสมควรแก่ตำแหน่ง และพระราชทานผลประโยชน์ที่เก็บได้เพื่อหักค่าใช้จ่ายไว้เป็นเงินสำหรับบำรุงบ้านเมืองเป็นปีๆ ไป แล้วอีกส่วนหนึ่งด้วย ถ้าต้องออกจากราชการในหน้าที่ด้วยเหตุผลทุพพลภาพ ด้วยเหตุประการหนึ่งประการใดก็ดี จะได้รับพระราชทานเบี้ยเลี้ยงบำนาญอีกต่อไป
                 เรื่องการศาล จัดให้มีศาลเป็น ๓ ชั้น คือ ศาลบริเวณ ศาลเมือง ศาลแขวง มีผู้พิพากษาสำหรับศาลเหล่านั้นพิจารณาคดีตามพระราชกำหนดกฎหมาย เว้นแต่คดีแพ่งที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก ซึ่งอิสลามิกชนเป็นโจทก์และจำเลย หรือเป็นจำเลยให้ใช้กฎหมายอิสลามแทนบทบัญญัติกฎหมายแพ่งพาณิชย์ เว้นแต่บทบัญญัติว่าด้วยอายุความมรดกยังคงต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับ



                 การใช้กฎหมายอิสลามในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีดังกล่าวตามข้อบังคับสำหรับการปกครองบริเวณ ๗ หัวเมือง ร.. ๑๒๐ เรียกตุลาการตำแหน่งนี้ว่า โต๊ะกาลีต่อมาจึงได้มีข้อกำหนดไว้ในศาลตรากระทรวงยุติธรรม ลงวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๖๐ เรียกตำแหน่งนี้ว่า ดาโต๊ะยุติ-ธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับตำแหน่ง เสนายุติธรรมในมณฑลพายับ ดาโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้รู้และเป็นที่นับถือของอิสลามิกชนเป็นผู้พิพากษาตามกฎหมายอิสลาม
                 ต่อมาได้มีการประกาศพระบรมราชโองการ ให้จัดตั้งมณฑลปัตตานีเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม  พ.. ๒๔๔๙   มีสาระสำคัญว่า  แต่ก่อนมาจนถึงเวลานี้บริเวณ  ๗ หัวเมือง มีข้าหลวงใหญ่
ปกครองขึ้นอยู่กับข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ทรงพระตำหนิเห็นว่าทุกวันนี้ การค้าขายในบริเวณ ๗ หัวเมือง เจริญขึ้นมากและการไปมาถึงกรุงเทพฯ ก็สะดวกกว่าแต่ก่อน ประกอบกับบริเวณ ๗ หัวเมืองมีท้องที่กว้างขวางและมีจำนวนผู้คนมากขึ้น สมควรจะแยกออกเป็นมณฑลหนึ่งต่างหาก ให้สะดวกแก่ราชการ และจะทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนได้ จึงแยกบริเวณ ๗ หัวเมืองออกมาจากมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง เรียกว่า มณฑลปัตตานี ให้พระยาศักดิ์เสนีเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลปัตตานี
                 ในมณฑลปัตตานีมีเมืองที่เข้ามารวม ๔ เมือง คือ เมืองปัตตานี (รวมเมืองหนองจิก ยะริ่ง และเมืองปัตตานี) เมืองยะลา (รวมเมืองรามันและเมืองยะลา) เมืองสายบุรีและเมืองระแงะ
                 ต่อมาในปี พ.. ๒๔๕๐ ได้ย้ายที่ว่าราชการเมืองระแงะจากตำบลบ้านตันหยงมัสมาตั้งที่บ้านมะนารอ (บางมะนาวปัจจุบัน) อำเภอบางนรา ส่วนท้องที่เมืองระแงะ  และยกฐานะอำเภอบางนราขึ้นเป็นเมืองบางนรา มีอำเภอในเขตปกครอง คือ อำเภอบางนรา อำเภอตันหยงมัส กิ่งอำเภอยะบะ อำเภอสุไหงปาดี กิ่งอำเภอโต๊ะโมะ
                 ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระพาสมณฑลปักษ์ใต้ เมื่อเสด็จมาถึงเมืองบางนราทรงพระราชทานพระแสงราชศัตราแก่เมืองบางนราและทรงดำริเห็นว่าบางนรานั้นเป็นชื่อตำบลบ้านและควรที่จะมีชื่อเมืองไว้เป็นหลักฐานสืบไป  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองบางนราเป็นเมืองนราธิวาส ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.. ๒๔๕๘
                 ในปี พ.. ๒๔๖๕ ได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคครั้งใหญ่ให้ เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจังหวัด ฉะนั้น เมืองนราธิวาส จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นจังหวัดนราธิวาส ดังเช่นปัจจุบันนี้
                 ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นว่าการที่แบ่งเขตเป็นมณฑลและจังหวัดไว้แต่เดิมนั้น เวลานี้การคมนาคมสะดวกขึ้นมาพอที่จะรวมการปกครอง บังคับบัญชาให้กว้างขวางยิ่งขึ้นแล้ว จึงเป็นการสมควรที่จะยุบมณฑลและจังหวัดเพื่อประหยัดรายจ่ายของแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบเลิกมณฑล ๔ มณฑล จังหวัด ๙ จังหวัด เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.. ๒๔๗๔  ในการประกาศยุบเลิกมณฑลครั้งนี้ มีมณฑลปัตตานีเป็นมณฑลหนึ่งด้วย และให้รวมจังหวัดต่างๆ ของมณฑลปัตตานีเข้าไว้ในปกครองของมณฑลนครศรีธรรมราช มีศาลารัฐมณฑลตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา
                 ส่วนจังหวัดที่ประกาศยุบเลิกมี สายบุรีจังหวัดหนึ่งด้วย โดยให้รวมท้องที่เป็นอำเภอเข้าไว้ในปกครองของจังหวัดปัตตานี เว้นท้องที่อำเภอบาเจาะ ให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของจังหวัดนราธิวาส
                 ครั้นต่อมา ท้องที่อำเภอของจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเจริญยิ่งขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอโต๊ะโมะเป็นอำเภอแว้ง เมื่อ พ.. ๒๔๘๑  ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอยะบะ เป็นอำเภอรือเสาะ เมื่อ พ.. ๒๔๘๒ ประกาศยกฐานะตำบลสุไหงโก ลก  ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อ พ.. ๒๔๙๑ และประกาศยกฐานะเป็นอำเภอ สุไหงโก-ลก เมื่อ พ.. ๒๔๙๖ ประกาศตั้งกิ่งอำเภอศรีสาคร โดยรวมเอาตำบลจากอำเภอรือเสาะ ๒ ตำบล คือ ตำบลสากอ และตำบลตะมะยูง เมื่อ พ.. ๒๕๑๗  และยกฐานะเป็นอำเภอศรีสาคร เมื่อ พ.. ๒๕๒๒ ประกาศตั้งกิ่งอำเภอสุคีริน โดยแยกตำบลมาโมงจากอำเภอแว้ง แล้วตั้งตำบลมาโมง ตำบลสุคีริน และตำบลเกียร์ เมื่อ พ.. ๒๕๑๐ ประกาศตั้งกิ่งอำเภอจะแนะ เมื่อ พ.. ๒๕๒๕





 



ที่มา : สำนักงานจังหวัดนราธิวาส





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น